Web 3.0 กับวิสัยทัศน์การปกป้องข้อมูลส่วนตัวแบบครบวงจร

Web 2.0 คือเหล่าเว็บไซต์ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบันถูกครอบงำโดยบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาบริษัทต่าง ๆ เช่น Google, Facebook, Amazon และอื่น ๆ ได้สร้างระบบนิเวศขนาดใหญ่ขึ้นโดยเข้าควบคุมบริการหลักๆ ของอินเทอร์เน็ต จนผู้ใช้อย่างพวกเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ( Web 3.0 และ การปกป้องข้อมูล )
การพึ่งพาผู้ให้บริการส่วนกลางแบบนี้นำไปสู่ปัญหามากมาย เช่น ระบบล่มไฟดับ ปัญหาที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การติดตามข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย การเก็บกักข้อมูล และการใช้ PII (Personal Identifiable Information ข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้ระบุตัวตนได้) ในทางที่ผิด เป็นต้น แม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล พยายามควบคุมการผูกขาดของเหล่าบริษัทศูนย์รวมของแหล่งบริการ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมบริษัทเหล่านั้นได้มากนัก
เราอยู่ในโลกที่โดน Social Media ครอบงำ Search Engine เว็บไซต์ E-commerce และเหล่าสถาบันการเงินมาทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าดูแลข้อมูลและแถมยังให้ข้อมูลประจำตัวออนไลน์แก่เราอีก
เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าองค์กรที่รวมศูนย์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความตระหนักรู้และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ แต่ในขณะเดียวกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เช่น การขโมยข้อมูล การที่ข้อมูลถูกแฮ็ก หรืออคติที่เกิดบนแพลตฟอร์มหลัก ๆ เป็นหลักฐานให้เราไม่ต้องสงสัยเลยว่า Web 2.0 นั้นยังมีข้อบกพร่องที่แสนเจ็บปวดอยู่
Web 2.0 ยังเต็มไปด้วยกระบวนการที่เทอะทะ ผู้คนยังคงหวังให้ Web 2.0 ถูกพัฒนาให้ดีกว่านี้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่ข่าวดีคือมันจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปต้องขอบคุณเทคโนโลยี Blockchain ที่พัฒนาขึ้น เราอยู่ในจุดที่จะเกิดการปฏิวัติอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยผู้คนเรียกกันว่า Web 3.0 ที่จะเป็นอินเทอร์เน็ตเวอร์ชันใหม่ล่าสุดโดยใช้หลักการของการกระจายศูนย์ (คือในปัจจุบันไม่ว่าเราจะไปทำอะไรในเว็บไซต์ใด ข้อมูลของเราก็จะไปอยู่กับเว็บไซต์นั้น มันถึงเรียกว่ารวมศูนย์ แต่จากนี้มันจะต่างออกไป) ความโปร่งใส ความยุติธรรม ความปลอดภัย การควบคุมผู้ใช้ และการเป็นหนึ่งเดียว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีหลายโครงการที่ขับเคลื่อนด้วย Blockchain ปรากฏขึ้นมากมาย ซึ่งช่วยให้ประโยชน์มากมายแก่ผู้ใช้เพราะทุกวันนี้พวกเราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยบนอินเทอร์เน็ต
โครงการเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงการใช้งานและครอบคลุมไปถึงผู้ที่ต้องการแชร์ข้อมูลอีกด้วย และนี่คือ 3 ประเด็นในโครงการ Blockchain ที่เน้นความเป็นส่วนตัวซึ่งจะทำให้ Web 3.0 ให้โลกที่ดีกว่าเดิมสำหรับทุกคน
1.ให้คุณได้กลับมาควบคุมข้อมูลของคุณอีกครั้ง
KILT Protocol ที่พัฒนาโดย BOTLabs GmbH เป็น Blockchain Protocol แบบ Open-source สำหรับการสร้างบัญชีผู้ใช้งานบน Web 3.0 ที่ตรวจสอบได้ รับรองการปกปิดตัวตน (Anonymous), และอยู่ในการควบคุมของผู้ใช้งาน พูดง่ายๆ ก็คือ เป็น Protocol ที่ช่วยให้คุณระบุตัวตนให้ตัวเองได้เองบนออนไลน์โดยไม่ต้องไปพึ่ง Third Parties
ด้วย KILT Protocol คุณสามารถพิสูจน์หรือแสดงตัวตนของคุณโดยไม่ต้องเปิดเผยสิ่งที่คุณยังอยากให้เป็นส่วนตัว ซึ่ง Protocol นี้ได้รับการออกแบบในลักษณะที่สามารถสร้างตัวระบุตัวตนของเราได้หลากหลายสำหรับธุรกิจ บริการ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่อาศัย การยืนยันตัวตน โดยพื้นฐานแล้วจะนำระบบการตรวจสอบในโลกแห่งความเป็นจริงโดยใช้ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง และเอกสารอื่น ๆ มาสู่ Blockchain
KILT Protocol ขับเคลื่อนโดย $ KILT Token เพื่อมาตอบสนองความต้องการของทั้งองค์กรและผู้ใช้รายบุคคล เมื่อเร็ว ๆ นี้แพลตฟอร์มได้เปลี่ยนเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์อย่างสมบูรณ์ โดยให้อำนาจการตัดสินใจสำหรับอนาคตของ Protocol แก่สมาชิก KILT Protocol จะเป็นพื้นฐานของเครือข่ายข้อมูลประจำตัวแบบกระจายศูนย์ (DID – Decentralized IDentity Network) ทำให้การใช้อัตลักษณ์แห่งอำนาจของตนเอง (SSI – Self-Sovereign Identity) ซึ่งก็คือแนวคิดที่ตัวตนของเราเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ เราจึงสามารถทำอะไรก็ได้กับข้อมูลของเรา เมื่อผู้อื่นจะนำข้อมูลของเราไปใช้งานจำเป็นจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลเสมอ
ทีมงาน KILT เปิดตัวบริการ SocialKYC ในปี 2021 มันคือ Solution การระบุตัวตนดิจิทัลที่อนุญาตให้ผู้ใช้จัดการ จัดเก็บ และแสดงข้อมูลประจำตัวเพื่อควบคุมเหล่าบริการออนไลน์ที่เข้าถึงข้อมูลเราได้ ข้อมูลส่วนบุคคล บริการสามารถใช้ได้ผ่านกระเป๋าเงิน Sporran และในปัจจุบัน ก็ใช้จริงได้บน Twitter และอีเมล
2. ผสานการประมวลผลจากหลายที่เข้ากับ Blockchain
Partisia ผู้นำอุตสาหกรรมด้าน Software Solutions ที่รองรับการประมวลผลจากหลายที่ หลายแห่งข้ามองค์กร (MPC) ได้เปิดตัว Partisia Blockchain เพื่อให้ตัว Web3.0 ได้รับความวางใจ ความโปร่งใส ความเป็นส่วนตัว พร้อมกับความเร็วที่มากขึ้น
ด้วยการรวมคุณสมบัติของการประมวลผลแบบหลายที่ หลายแห่ง (MPC of Multi-Party Computation) เข้ากับคุณสมบัติดั้งเดิมของ Blockchain ทำให้ Partisia Blockchain ช่วยให้ผู้ใช้และองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการกระจายอำนาจ แถมยังนำเสนอความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลชนิด End-to-end หรือข้อมูลส่วนตัวคุณจะได้รับการป้องกันแบบต้นทางยันปลายทาง หลังจากหลายปีของการวิจัยและการพัฒนา ทำให้ทีมงาน Partisia เพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวหลายชั้นให้กับข้อมูลบนเครือข่ายได้สำเร็จ
บริการของ Partisia จะทำงานบนระบบนิเวศทั้งแบบ On-chain, Off-chain และ Cross-chain ระบบนิเวศพวกนี้จะมีวิธีผูก Token จะตัว Blockchain ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบจะไม่ล้มเหลวหากจุดใดจุดหนึ่งในระบบล่มไป (No Single Point of Failure) โดยการกระจายการดำเนินการคำนวณของโมเดล MPC ของตนไปยังที่ต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกันเพื่อให้แน่ใจว่าระบบกระจายศูนย์จริง ๆ ในระบบยังได้ออกแบบอีกด้วยว่า ผู้เข้าร่วมแต่ละรายเป็นถือเป็นหน่วยงานที่ดูแลในส่วนของการประมวลผลของตัวเอง และจะไม่มีการเข้าถึงข้อมูลของอีกฝ่ายได้ นอกจากนี้ Partisia Blockchain ยังรองรับคุณสมบัติ BYOC (Bring Your Own Coin นำเหรียญของคุณมาเอง) หมายความว่าผู้ใช้สามารถชำระค่าบริการโดยใช้ Token อื่น ๆ เช่น BTC หรือ ETH ก็ได้ด้วย
3.การป้องกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางจากการสอดแนมการสื่อสาร (Metadata Surveillance)
Nym บริษัท Startup จากสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนา Solution ความเป็นส่วนตัวแบบใหม่สำหรับ Web 3.0 ที่ออกแบบมาเพื่อยุติ การสอดแนมการสื่อสาร (Metadata Surveillance) และการละเมิดข้อมูล (Data Breach) Nym ผสมผสานเทคโนโลยีความเป็นส่วนตัวที่หลากหลายเข้ากับระบบของ Node เครือข่ายที่ร่วมมือกันซึ่งให้ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลแบบ End-to-end สำหรับทั้งในระดับเครือข่ายและระดับแอปพลิเคชัน
ระบบนิเวศของ Nym ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมเครือข่ายแบบไม่มีศูนย์กลางที่จะให้บริการส่งข้อมูลผ่านวิธีการ Mixnet (Protocol ในการส่งข้อมูลที่ยากต่อการติดตาม) และระบบบัญชีส่วนตัวสร้างขึ้นด้วย Blockchain ที่สร้างเครือข่ายซ้อนทับปกปิดตัวตนของผู้ใช้ ผู้ให้บริการเครือข่ายจะได้รับการจัดอันดับตามการทำงานให้กับระบบทำให้ง่ายต่อการหา Node ที่มีประสิทธิภาพต่ำ และนี่จึงเป็น Solution ที่รักษาความเป็นส่วนตัว ได้ดีกว่าเครือข่ายรักษาความเป็นส่วนตัวที่มีอยู่ตอนนี้ เช่น VPN หรือ Tor Browser ในขณะที่ ผู้ให้บริการ Mixnet ก็ผลตอบแทน (เหรียญ NYM) เป็นแรงจูงใจในการทำงานให้ระบบ (ต่างจาก Tor ที่ผู้ให้บริการเลือกเข้าร่วมเครือข่ายตามความสมัครใจ และไม่ได้รับผลตอบแทนเสมอไป)
แพลตฟอร์ม “Nym Credentials” ช่วยให้ผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลที่สาม ปิดบังข้อมูลอะไรก็ตามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกเปิดเผย (หรือแบ่งปัน) เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นอย่างเป็นส่วนตัวและเมื่อจำเป็น ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้มากขึ้น ( Web 3.0 และ การปกป้องข้อมูล )
บทความโดย Angela Scott-Briggs
เนื้อหาจากบทความของ TechBullion
แปลและเรียบเรียงโดย วิน เวธิต
ตรวจทานและปรับปรุงโดย อนันต์วัฒน์ ทิพย์ภาวัต