มาใช้ diagram อธิบายการทำงานของระบบต่าง ๆ กันเถอะ

หากเราจะอธิบายการทำงานของระบบบางอย่างให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการทำ diagram ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการของระบบ ขั้นตอนการทำงาน หรือเห็นแต่ละกลุ่มที่มีหน้าที่ในระบบนั้น ๆ
diagram ที่เราจะนำมาพูดถึงในวันนี้คือ sequence diagram และ activity diagram ทั้งสองเป็น diagram ที่มีวัตถุประสงค์ในการแสดงพฤติกรรมการทำงานของระบบ สามารถเห็นภาพรวมของระบบหรือกระบวนการของงานได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างระบบการทำงานที่สามารถใช้ diagram เช่น การทำงาน/การคำนวณค่าบางอย่าง หรือ ระบบที่มีการเรียกใช้งานระบบส่วนอื่น ๆ เพื่อทำงานอะไรบางอย่าง
sequence diagram และ activity diagram ทั้งสองอย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Unified Modeling Language (UML) คือเป็นภาษาภาพที่มีมาตรฐานกลางที่ใช้ในการอธิบายระบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้ออกแบบกับโปรแกรมเมอร์ หรือฝั่งที่เกี่ยวกับ business ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในบริบทเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ก็สามารถใช้อธิบายระบบต่าง ๆ เพื่อให้คนทำงานทั่วไปเข้าใจได้เช่นกัน

Activity diagram
เป็น diagram ที่แสดงถึง workflow กิจกรรมของระบบ แสดงขั้นตอนการทำงานหนึ่งไปสู่อีกอันหนึ่ง โดยวิธีการเขียนจะต้องมีจุดเริ่มต้น-จุดสิ้นสุด และมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุด
สัญลักษณ์พื้นฐาน
สัญลักษณ์ | ชื่อ | คำอธิบาย |
![]() | Initial State / Start Point | จุดเริ่มต้น |
![]() | Activity or Action State | กิจกรรม |
![]() | Object FlowGuards | การไหลของกิจกรรม |
![]() | Guards | กรณีมีเงื่อนไข |
![]() | Synchronization | กรณีมีการทำกิจกรรมพร้อม ๆ กัน |
![]() | Final State / End Point | จุดสิ้นสุด |
ตัวอย่าง Activity diagram

ทั้งนี้ activity diagram สามารถแบ่งหมวดหมู่ของกิจกรรมได้ด้วยการเขียนเป็นแบบ Swimlanes ที่จะจัดกิจกรรมแต่ละอันตามหมวดหมู่ หรือผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรมนั้น เพื่อให้เห็นภาพของระบบได้ง่ายขึ้น เช่น การบริการลูกค้าของร้านอาหาร จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน พ่อครัว
ตัวอย่าง activity diagram แบบ Swimlanes

Sequence diagram
Sequence diagram ใช้แสดงถึงการปฏิสัมพันธ์กันในแต่ละส่วน ว่ามีการส่งข้อความหรือข้อมูลอะไรถึงกัน โดยแสดงตามลำดับของเวลา
สัญลักษณ์พื้นฐาน
สัญลักษณ์ | ชื่อ | คำอธิบาย |
![]() | Actor | ผู้กระทำต่อระบบ |
![]() | Object | อ็อบเจกต์ที่ต้องทำกิจกรรม |
![]() | Lifeline | เส้นการมีอยู่ของอ็อบเจกต์ |
![]() | Focus of Control / Activation | แสดงถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของช่วงการทำกิจกรรม |
![]() | Message | คำสั่ง หรือฟังก์ชันการทำงานที่มีการส่งไป |
![]() | Callback / Self Delegation | คำสั่ง หรือฟังก์ชันการทำงานที่เรียกภายในตัวเอง |
ตัวอย่าง sequence diagram

โดยทั้ง 2 diagram นี้สามารถทำออนไลน์ผ่านเว็บบราวเซอร์ได้เลย ตัวอย่างที่มีให้ใช้งานได้ฟรี เช่น diagrams.net, visual-paradigm online ที่สามารถทำได้ทั้ง activity diagram และ sequence diagram และผู้เขียนขอแนะนำเว็บไซต์ทำ sequence diagram แบบ codebase (ทำ diagram ด้วยการเขียนเป็นโค้ด) ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาจัดรูปแบบ ปรับขนาดกล่อง ข้อความต่าง ๆ แค่พิมพ์ให้ถูกลำดับ ถูกไวยากรณ์ของเว็บไซต์ที่เราใช้งาน เช่น SequenceDiagram.org, WebSequenceDiagrams
การเลือกใช้งานระหว่าง 2 diagram นี้จะขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการโฟกัสที่จุดไหน หากต้องการเห็น workflow ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในระบบก็ให้เลือก activity diagram แต่หากต้องการโฟกัสที่ลำดับขั้นการทำงานของระบบ โดยเน้นที่ข้อความหรือคำสั่งที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างอ็อบเจกต์ก็ให้เลือก sequence diagram
เนื้อหาโดย วริศ หลิ่มโตประเสริฐ
ตรวจทานและปรับปรุงโดย อิสระพงศ์ เอกสินชล