สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)

Logo BDI For web

เครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะที่นิยมในปัจจุบัน (BI Tools)

Oct 6, 2022

Gartner’s Magic Quadrant คือ ชื่อรายงานการวิจัยทางการตลาด (Market Research Reports) ซึ่งจะมีการจัดทำขึ้นทุกๆ 1 – 2 ปี จัดทำโดยบริษัท Garner Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเพื่อการวิจัยและให้คำปรึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในตลาด รวมทั้งทิศทาง, พัฒนาการของเทคโนโลยี และผู้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ รายงานการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบริษัทหรือองค์กรที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการและธุรกิจของตนเอง รวมไปถึงรายงานการวิจัยยังมีการบ่งบอกถึงจุดแข็งและข้อควรระวังเปรียบเทียบกันระหว่างผลิตภัณฑ์ ซึ่งในรูปด้านล่าง Gartner ได้แสดงจุดแข็งและข้อควรระวังในผลิตภัณฑ์ Business Intelligence Tools (BI Tools) โดย Vendor ต่าง ๆ

กราฟเมทริกซ์จากรายงานการวิจัยทางการตลาดของบริษัท Garner Inc.

จากรูปที่แสดงด้านบน ยิ่งตำแหน่งของผลิตภัณฑ์อยู่ด้านขวาของกราฟมาก แสดงว่าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองให้ตอบโจทย์ความต้องการการใช้งานในตลาดผู้ใช้ปัจจุบัน และยิ่งอยู่ตำแหน่งของกราฟที่สูงมาก บ่งบอกถึง จำนวนผู้ใช้งานหรือส่วนแบ่งการตลาดที่สูงเช่นกัน โดยกราฟจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เพื่อแสดงความสามารถของแต่ละซอฟต์แวร์ ได้แก่

  1. Leaders: มีคะแนนที่สูงทั้งด้านวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และยังสามารถครองส่วนแบ่งของตลาดได้สูงอีกด้วย
  2. Visionaries: มีวิสัยทัศน์และมีแผนที่จะพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในอนาคต แต่อาจยังไม่สามารถนำเสนอจุดเด่นของตัวซอฟต์แวร์เพื่อได้ส่วนแบ่งของตลาดในปัจจุบัน หรือผู้ใช้งานยังมีจำนวนที่น้อย
  3. Challengers: มีส่วนแบ่งของตลาดที่สูง แต่วิสัยทัศน์ของผู้พัฒนาหรือแผนการพัฒนาตัวซอฟต์แวร์อาจยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจของตลาดของผู้พัฒนา
  4. Niche Players: มีคะแนนที่ต่ำทั้งสองส่วนไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิสัยทัศน์และจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบัน แสดงว่าตัวซอฟต์แวร์เป็นที่ยอมรับเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ ในตลาด

จากรายงานการวิจัยทางการตลาดของ Garner Inc. จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะมากมายจากหลากหลายผู้พัฒนา แต่ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายนั้นมี 3 เครื่องมือ นั่นคือ Power BI จาก Microsoft, Tableau จาก Salesforce และ Google Data Studio จาก Google ซึ่งต่างมีความสามารถในการดึงข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อสร้าง Dashboard โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรม อย่างไรก็ตาม แต่ละเครื่องมือมีความโดดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันดังนี้

  • Power BI เป็นผลิตภัณฑ์ของ Microsoft มีความโดดเด่นตรงที่มีเครื่องมือที่ช่วยในการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว และการอัปเดตข้อมูลอัตโนมัติ นอกเหนือจากนี้ยังมีเครื่องมือในการสร้างการแสดงผลที่เหมาะสมต่อการใส่ในเว็บแอปพลิเคชันและโทรศัพท์มือถือในระบบต่าง ๆ เช่น Android และ iOS อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแสดงผลผ่าน URL ต่อสาธารณะชนหรือกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการจำกัดสิทธิอยู่
ตัวอย่างหน้าจอแดชบอร์ดที่พัฒนาจากซอฟต์แวร์ Microsoft Power BI
  • Tableau เป็นผลิตภัณฑ์ของ Salesforce มีความโดดเด่นที่ความสวยงามของการแสดงผลและการแสดงผลที่รวดเร็วสำหรับบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งยังมี Community กลุ่มใหญ่ที่รวมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทำ Dashboard ไว้ด้วยกันทำให้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ในการใช้ Tableau อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการแสดงผลของ Tableau ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ Power BI และ Google Data Studio
ตัวอย่างหน้าจอแดชบอร์ดที่พัฒนาจากซอฟต์แวร์ Tableau
  • Google Data Studio เป็นผลิตภัณฑ์ของ Google ที่มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะบริการของ Google เช่น BigQuery สำหรับการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลและ Google Analytics สำหรับการติดตามกิจกรรมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ อีกทั้งยังสะดวกต่อการแสดงผล เพราะสามารถสร้าง URL เพื่อส่งต่อให้ผู้อื่น หรือนำไปแสดงผลบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือนี้ไม่สามารถสร้างการแสดงผลบนโทรศัพท์และไม่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อทำนายผล
ตัวอย่างหน้าจอแดชบอร์ดที่พัฒนาจากซอฟต์แวร์ Google Data Studio

เนื่องจากแต่ละเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะล้วนแต่มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้งานสำหรับแต่ละองค์กร ทั้งในมิติของราคา ค่าใช้จ่าย ที่องค์กรพร้อมลงทุน และความเหมาะสมนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีอื่นที่องค์กรใช้งานอยู่แล้วเดิม เพื่อให้เครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลที่องค์กรเก็บรวบรวมไว้อยู่เดิม และสามารถนำมาเสนอในรูปแบบแดชบอร์ดที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงขององค์กร


 เปรียบเทียบเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะ (BI Tools)

 Power BI DesktopTableauGoogle Data Studio
จุดเด่นสามารถนำข้อมูลมากกว่าหนึ่งแหล่งและหลากหลายรูปแบบ เพื่อมาใช้วิเคราะห์ร่วมกันได้ ยกตัวอย่างเช่นการนำข้อมูลจากใน Excel มาวิเคราะห์คู่กับข้อมูลในฐานข้อมูล   ออกแบบเรียบง่ายสำหรับการใช้งาน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชิงเทคนิคในการสร้างแดชบอร์ดที่ซับซ้อน  

กรณีที่หน่วยงานมีการใช้ Microsoft office 365 อยู่แล้ว บุคลากรภายในองค์กรสามารถใช้ตัว PowerBI และเผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่าน URL ได้เลย
มีฟังก์ชันที่สามารถจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนได้ ทำให้ขั้นตอนการทำความสะอาดข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  

มีซอฟต์แวร์เสริมส่วนที่ชื่อว่า Tableau Prep ที่สามารถใช้ออกแบบ data pipeline เพื่อไปแสดงผลไปยังแดชบอร์ด  

มีประเภทกราฟให้เลือกหลากหลาย และสามารถปรับแต่งแต่ละกราฟได้อย่างละเอียด  
สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลจากระบบต่าง ๆ ของ Google ได้ยกตัวอย่างเช่น Google Analytics, Adword, BigQuery  

เน้นระบบคลาวด์ ที่สามารถใช้งานได้รวดเร็ว ในกรณีที่ทำงานกันกับซอฟต์แวร์อื่นของ Google  

มีฟังก์ชันในการแชร์ตัวงานให้กับทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาตัวแดชบอร์ดได้
กลุ่มผู้ใช้งานเหมาะสำหรับผู้ที่มีความคุ้นชินการใช้งานของ Microsoft Excel  และเหมาะกับองค์กรที่ใช้ Microsoft Office 365 อยู่แล้วเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อน ปรับสร้างกราฟแบบละเอียดเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นอยากลองใช้ Business Intelligence Tool
เริ่มเปิด ใช้งานครั้งแรก201520042016
ราคา$9.99/คน/เดือน (Power Bi Pro)$70/คน/เดือน
(Tableau Creator)
ฟรี
รองรับการสร้าง/ปรับแต่งDesktopDesktopDesktop และ Mobile
ระบบปฏิบัติการWindows เท่านั้น  Windows/macOS  ใช้งาน Online ผ่าน Web Browser

ความเห็นของจากมุมมองผู้พัฒนาแดชบอร์ด

 Power BI DesktopTableauGoogle Data Studio
ข้อได้เปรียบใช้งานง่าย สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้  

สำหรับผู้ที่คุ้นชินการใช้งาน Microsoft Excel จะสามารถเรียนรู้การใช้งาน Power BI ได้เร็ว  

ตัวเลือกกราฟหลากหลาย  

สามารถแสดงข้อมูลเชิงแผนที่ได้พอใช้  

Interaction บนกราฟค่อนข้างเร็ว
ใช้งานง่าย สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้  

ตัวเลือกกราฟหลากหลาย  

สามารถแสดงข้อมูลเชิงแผนที่ได้ดี  

Interaction บนกราฟรวดเร็ว
ใช้งานได้ฟรี
ข้อเสียเปรียบมีค่าใช้จ่าย แต่มีเวอร์ชันทดลองใช้ที่สามารถใช้งานได้ฟรีราคาค่อนข้างสูงการจัดการข้อมูลมีข้อจำกัดมาก  

ตัวเลือกกราฟมีจำกัด  

Interaction บนกราฟค่อนข้างช้า

อ้างอิง

เปรียบเทียบเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะ

บทความเกี่ยวกับ Tableau Software บน Wikipedia

เนื้อหาโดย พรรษพัชร์ บำรุงวงศ์

ตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์​ ธรรมเจริญพร

Punsapach Bumrungwong

Project Manager & Data Scientist at Big Data Institute (Public Organization), BDI

© Big Data Institute | Privacy Notice